วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ นางสาวนิรชรา บัวผิน ชื่อเล่น เดียร์ วันเกิด 26มกราคม พศ.2540 อายุ 17ปี ที่อยู่ 81หมู่1 ต.ดอนประดู่ อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง e-mail nirachara26_nadear@hotmail.com จบ ม.3จาก โรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ อาหารที่โปรดปราน ข้าวผัดน้ำพริกปลาทู อาชีพที่ใฝ่ฝัน ครูสอนวิชาภาษาอังกฤษ คติประจำใจ คนเราต่างคนเกิดมาคนละแบบ ความคิดของคนย่อมไม่เหมือนกัน วิชาที่ชอบ วิชาอังกฤษกิจกรรมยามว่าง เล่นเฟสบุ๊ค อ่านหนังสือ ดูการ์ตูน

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายลำดับศักดิ์สูงสุดแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองของประเทศ ซึ่งตั้งแต่ปีพ.ศ. 2475 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแล้วทั้งสิ้น 18 ฉบับ อันแสดงให้เห็นถึงความขาดเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
รัฐธรรมนูญไทยระบุว่าประเทศไทยมีรูปแบบรัฐเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (เขียนว่า ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) กำหนดให้มีการแบ่งแยกอำนาจระหว่างอำนาจนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ ปัจจุบัน ประเทศไทยใช้ระบบสองสภา แตกต่างจากในอดีตที่ใช้ระบบสภาเดี่ยว รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับกำหนดให้ผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งและการแต่งตั้งแตกต่างกันไป เช่นเดียวกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรหลักที่ทำหน้าที่ตีความรัฐธรรมนูญและวินิจฉัยข้อขัดแย้งข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ
ก่อนที่ราชอาณาจักรไทยจะมีรัฐธรรมนูญนั้น ราชอาณาจักรไทยมีระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบการปกครอง ต่อมาเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นั้น ถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์ไทยเชิงการเมืองการปกครอง เมื่อคณะราษฎร ซึ่งประกอบด้วย ข้าราชการสายทหารบก ทหารเรือ และสายพลเรือน จำนวน 99 คน โดยมีพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้า ได้ร่วมกันทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศจากพระมหากษัตริย์ เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด และมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับอยู่ ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทรงตัดสินพระทัยที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยสงบ ดังความตามพระราชหัตถเลขา (ต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ) ที่ทรงเขียนในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2475 ไม่ลงวันที่ พระราชทานพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ซึ่งได้แปลเป็นภาษาไทยในหนังสือเรื่อง เกิดวังปารุสก์ เล่ม 2 ความดังนี้
ฉันรู้สึกเสียดายอย่างยิ่งที่เขามิได้คิดจะถอดฉัน และฉันยังเสียใจอยู่จนบัดนี้ ความรู้สึกขั้นแรกก็คือจะลาออกทันที แต่สมเด็จกรมพระสวัสดิ์ฯ แนะนำว่าไม่ควรทำ เพราะถ้าทำเช่นนั้นอาจมีการรบกันจนนองเลือดทั้งยุ่งยากต่างๆ จนอาจมีฝรั่งเข้ามายุ่งและชาติเราอาจเสียอิสรภาพได้...
ถ้าเราจะรบโดยใช้ทหารหัวเมืองหรือ นั่นเป็นของแน่ที่เราอาจทำได้ แต่ฉันไม่ยินยอมเลยแม้แต่ชั่วขณะเดียว เพราะเจ้านายในกรุงเทพฯ อาจจะถูกฆ่าหมด ฉันรู้สึกว่าฉันจะนั่งอยู่บนราชบัลลังก์ที่เปื้อนโลหิตไม่ได้... สมเด็จกรมพระสวัสดิ์ฯ แนะนำตลอดเวลาว่าให้ยินยอมกลับกรุงเทพฯ และช่วยคณะราษฎรจัดตั้งการปกครอง โดยมีกษัตริย์และรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็เป็นของที่ฉันเคยอยากจะทำมานานแล้ว แต่ว่าฉันเสียขวัญ
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก่เจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น บุนนาค) ประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 หลังจากนั้น ทรงสละราชสมบัติ ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 ขณะทรงประทับอยู่ที่สหราชอาณาจักร หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเพียงปีเศษ โดยทรงมีเหตุผลในการตัดสินพระทัย ตามความในพระราชหัตถเลขา ดังนี้ 
ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจ อันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้า ให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร
บัดนี้ ข้าพเจ้าเห็นว่า ความประสงค์ของข้าพเจ้า ที่จะให้ราษฎรมีสิทธิออกเสียง ในนโยบายของประเทศไทยโดยแท้จริงไม่เป็นผลสำเร็จ และเมื่อข้าพเจ้ารู้สึกว่า บัดนี้ เปนอันหมดหนทาง ที่ข้าพเจ้าจะช่วยเหลือ ให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนได้ต่อไปแล้ว ข้าพเจ้าจึงขอสละราชสมบัติ และออกจากตำแหน่งพระมหากษัตริย์ แต่บัดนี้เปนต้นไป ข้าพเจ้าขอสละสิทธิของข้าพเจ้าทั้งปวง ซึ่งเปนของข้าพเจ้าอยู่ในฐานะที่เปนพระมหากษัตริย์ แต่ข้าพเจ้าสงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งปวง อันเปนของข้าพเจ้าแต่เดิมมา ก่อนที่ข้าพเจ้าได้รับราชสมบัติสืบสันตติวงศ์

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทั้งหมด

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
รัฐธรรมนูญ ฉบับแรกของไทย มีชื่อว่า “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475” จากนั้น ราชอาณาจักรไทย ก็ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาตามลำดับ ดังนี้ 
  1. พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475
  2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม
  3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489
  4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 [5] รัฐธรรมนูญตุ่มแดง หรือ รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม
  5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492
  6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495
  7. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502
  8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511
  9. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515
  10. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517
  11. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519
  12. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520
  13. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521
  14. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534
  15. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534
  16. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
  17. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549
  18. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

การแบ่งกลุ่มรัฐธรรมนูญ

หากแบ่งกลุ่มรัฐธรรมนูญ ด้วยการวัดที่ระดับการเลือกสมาชิกสภานิติบัญญัติ จะสามารถแบ่งได้เป็นสามกลุ่มดังนี้
Evolution of Thai constitutions 1932-2006 not bold.png
  1. สภาที่มาจากการเลือกตั้ง: สภานิติบัญญัติในกลุ่มนี้จะมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด. ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 (ซึ่งสภาผู้แทนมีการเลือกตั้งโดยตรง ส่วนสภาสูงซึ่งเรียกว่าพฤฒสภามาจากการเลือกตั้งโดยอ้อม) และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 (ที่ทั้งสองสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรง)
  2. สภาที่เกิดมาจากการสรรหา: สภานิติบัญญัติที่เกิดมาจากการสรรหาทั้งหมดหรือบางส่วน โดยที่สมาชิกผู้มาจากการสรรหานั้นมีอำนาจมากพอในการจำกัดอำนาจสมาชิกที่มีมาจาการเลือกตั้งได้ ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
  3. สภาที่เกิดมาจากการแต่งตั้ง: ฝ่ายบริหารมีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดหรือเกือบจะเป็นเช่นนั้น ไดเแก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534และ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549

ข้อวิจารณ์

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบางฉบับมีการให้อำนาจฝ่ายบริหารโดยไม่มีการถ่วงดุล ทำให้ฝ่ายบริหารมีความเฉียบขาดในการจัดการเรื่องต่าง ๆ ด้วยตนเอง ซึ่งอาจทำให้เกิดความฉับไวในการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน แต่ก็นำมาซึ่งการใช้อำนาจรัฐในทางที่ผิดโดยมีการสั่งลงโทษประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์ไปแล้วเป็นจำนวนมาก
มีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยถึง 4 ฉบับที่มีบทบัญญัติดังกล่าว ซึ่งในฉบับต่อๆ มานั้นหมายเลขมาตราได้เลื่อนไป แต่ผู้คนก็ยังนิยมกล่าวถึงกรณีการใช้อำนาจเด็ดขาดของนายกรัฐมนตรีว่า "ใช้อำนาจตามมาตรา 17"
ซึ่งมีบทบัญญัติดังนี้
มาตรา ๑๗ ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีเห็นเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการป้องกัน ระงับหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน หรือการกระทำอันเป็นการก่อกวนหรือคุกคามความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี ของประชาชน หรือการกระทำอันเป็นการทำลายทรัพยากรของประเทศ หรือเป็นการบั่นทอนสุขภาพอนามัยของประชาชนทั้งนี้ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังวันใช้ธรรมนูญการปกครองนี้และไม่ว่าจะเกิดขึ้น ภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีและของสภานโยบายแห่งชาติ มีอำนาจสั่งการหรือกระทำการใดๆ ได้ และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำของนายกรัฐมนตรีรวมทั้งการปฏิบัติตามคำสั่ง ดังกล่าวเป็นคำสั่งหรือการกระทำหรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อนายกรัฐมนตรีได้สั่งการหรือกระทำ การใดไปตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ นายกรัฐมนตรีแจ้งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติทราบ
กรณีการใช้อำนาจตามมาตรา 17 เช่น
  • การปราบปรามคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย
  • การสั่งประหารชีวิตบ้านต้นเพลิงที่ตลาดพลู
  • การสั่งยึดทรัพย์จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ โดย จอมพลถนอม กิตติขจร
  • การสั่งยึดทรัพย์จอมพลถนอม กิตติขจร โดย นายสัญญา ธรรมศักดิ์

วันแม่


ความหมายของคำว่า "แม่"
 
     คำว่า “แม่” พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของคำว่า "แม่" ไว้ดังนี้
 
     แม่ หมายถึง หญิงในฐานะที่เป็นผู้ให้กำเนิดแก่ลูก, คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดตน
     ในทางพระพุทธศาสนา ได้ให้ความหมายของคำว่า "แม่" ซึ่งหมายถึง หญิงที่มีครอบครัวไว้หลายนัย เช่น
 
     1. แม่ บางทีเรียกว่า มารดา มารดร หมายถึง เป็นใหญ่ เช่น แม่ทัพ แม่น้ำ แม่กอง เป็นต้น อันแสดงถึงความยิ่งใหญ่ภายในกิจการนั้นๆ ในที่นี้มาใช้กับผู้ให้กำเนิดแก่ลูกและหาตัวแทนไม่ได้
        - หญิงในฐานะผู้ให้กำเนิดแก่ลูก และหาตัวแทนไม่ได้
        - คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดตน
        - คนที่เป็นหัวหน้า หรือเป็นนาย โดยไม่จำกัดว่าเป็นชายหรือหญิง เช่น แม่ทัพ แม่กอง ฯลฯ
     รวมความแล้ว "แม่" คือ ผู้รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน โดยการรับผิดชอบนั้นมีขอบเขตภายในบ้านเรือน
 
     2. ชนนี หมายถึง ผู้ให้กำเนิดลูก, เป็นที่บังเกิดเกล้าของลูก
 
     3. ภรรยา หรือภริยา หมายถึง
        - เมีย หรือ หญิงผู้เป็นคู่ครองของชาย
        - ผู้เลี้ยง หรือผู้ดูแลสมาชิกของครอบครัว
 
     นักภาษาศาสตร์ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า คำว่า "แม่" ของทุก ๆ ภาษา มาจากการออกเสียงของเด็ก โดยคำขึ้นต้นด้วยพยัญชนะริมฝีปากคู่ ได้แก่ ม , พ , ป ,บ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นพยัญชนะชุดแรกที่เด็กสามารถทำเสียงได้ โดยการใช้ริมฝีปากบนและล่าง ดังเช่น
 
ภาษาจีน ม๊ะ หรือ ม่า
ภาษาฝรั่งเศส la mere (ลา แมร์)
ภาษาอังกฤษ mom , mam
ภาษาโซ่ เม๋เปะ
ภาษาไทใต้คง เม เป็นต้น
 
วันแม่แห่งชาติ รักใดเล่ารักแน่เท่าแม่รัก

พระคุณแม่ยิ่งใหญ่หาใดเทียบมิอาจเปรียบแม้ภูผาชลาสินธุ์
น้ำนมที่กลั่นให้ลูกได้ดื่มกินลูกถวิลถึงคุณค่าว่าอนันต์

ความเป็นมาของวันแม่แห่งชาติ
 
            ชาวอเมริกันเป็นผู้กำหนดให้มีวันแม่อย่างเป็นทางการขึ้น และผู้ที่พยายามเรียกร้องให้มีวันแม่ในอเมริกา คือ แอนนา เอ็ม. จาร์วิส คุณครูแห่งรัฐฟิลาเดลเฟีย แต่กว่าเธอจะประสบความสำเร็จก็ครบ 2 ปีพอดีในปี พ.ศ.2457 โดยประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน ได้มีคำสั่งให้ถือวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และดอกไม้สำหรับวันแม่ของชาวอเมริกันก็คือดอกคาร์เนชั่น ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือถ้าแม่ยังมีชีวิตอยู่ให้ประดับตกแต่งบ้าน หรือประตูด้วยดอกคาร์เนชั่นสีชมพู แต่ถ้าแม่ถึงแก่กรรมไปแล้วให้ประดับด้วยดอกคาร์เนชั่นสีขาว 
 
ความเป็นมาของวันแม่แห่งชาติในประเทศไทย
 
     วันแม่แห่งชาติ งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีงานวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน
 
     ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และกำหนดให้ดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ คือ ดอกมะลิ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
 
ทำไมจึงใช้ดอกมะลิเป็นดอกไม้ประจำวันแม่
 
     การที่ใช้ดอกมะลิ เป็นสัญลักษณ์วันแม่ ก็เพราะดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ มีกลิ่นหอมที่หอมไปไกลและหอมได้นาน ผลิดอกได้ทั้งปี อีกทั้งยังนำไปปรุงเป็นเครื่องยาหอมใช้บำรุงหัวใจได้ด้วย ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ลึกซึ้งที่แม่มีต่อลูก เป็นความรักที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณาที่ไม่มีที่สิ้นสุด และไม่มีพิษมีภัย มีแต่ความชุ่มชื่นใจดั่งความหอมของดอกมะลิ
 
วันแม่แห่งชาติ ใช้ดอกมะลิเป็นสัญลักษณ์

ดอกมะลิเป็นสัญลักษณ์ของวันแม่
 
ดอกมะลิดอกไม้ประจำวันแม่
 
ชื่อ :
มะลิ มะลิลา มะลิหลวง มะลิซ้อน
ชื่อวิทยาศาสตร์ และชื่อพฤกษศาสตร์ :
Jusminum adenophyllum.
วงศ์ :
OLEACEAE
ลักษณะทั่วไป :
เป็น พรรณไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบๆ ลำต้นสูงประมาณ 5 ฟุต ใบเป็นใบเดี่ยวแตกออกเป็นคู่ ไปตามก้านต้นลักษณะใบป้อมมน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบไม่มีจัก ผิวใบเรียบสีเขียวเข้มเป็นมัน ใบยาว 2-3 นิ้ว มีดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกเป็นช่อตามปลายยอดหรือปลายกิ่งประมาณ 3-5 ดอก แล้วแต่ชนิดพันธุ์ ดอกมีสีขาวกลิ่นหอม มีทั้งดอกลาและดอกซ้อน ออกดอกตลอดปี
การขยายพันธุ์ :
เป็นไม้ที่ชอบแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง ต้องการน้ำปานกลาง ปลูกในดินร่วนซุย ขยายพันธุ์โดยการปักชำ หรือตอนกิ่ง
สรรพคุณทางยา :
มะลินอกจากจะมีกลิ่นหอมไว้ดมแล้ว มะลิดอกแห้งใช้ปรุงเครื่องยาหอมใช้บำรุงหัวใจได้เป็นอย่างดี

 
ดอกมะลิสัญลักษณ์ประจำวันแม่
 
มะลิหอมน้อมวางข้างข้างตัก กรุ่นกลิ่น “รัก” บริสุทธิ์ผุดผ่องใส
แทนทุกคำทุกถ้อยร้อยจากใจ เป็นมาลัย “กราบแม่” พร้อมน้อมบูชา
 
ดอกเอ๋ยดอกมะลิ
ถึงยามผลิกลิ่นพราวสกาวต้น
สดสะอาดปราศสีราคีระคน 
เหมือนกมลใสสดหมดระคาย
กลิ่นมะลิหอมกระไรไม่รู้สร่าง  
เปรียบได้อย่างรักแท้ไม่แปรหาย
อันรักแท้แลหัวใจได้บรรยาย
ขอเชิญทาย ณ ที่ไหนจากใครเอย
 
*คำประพันธ์บทดอกสร้อยชื่อ แม่จ๋า ของท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา

การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย

ผลการเลือกตั้งประเทศมาเลย์เซีย

การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย
การเลือกตั้งทั่วไปในประเทศมาเลเซีย พ.ศ. 2556

ประเทศมาเลเซียจัดการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นเมื่อวันที่ พฤษภาคม 2556  หลังนายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ เมษายน  2556 โดยมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกสภานิติบัญญัติรัฐ 12  จาก 13 รัฐ (ยกเว้นรัฐซาราวักหลังธรรมเนียมปฏิบัติที่เริ่มตั้งแต่ปี 2547 ให้จัดการเลือกตั้งเหล่านี้พร้อมกัน
พรรครัฐบาล แนวร่วมแห่งชาติ (BN) ที่ครอบงำโดยพรรคอัมโนของนายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซะก์ ได้รับเสียงข้างมาก แม้พรรคปากาตัน รักเกียตที่ ตั้งโดยพรรคการเมืองฝ่ายค้านสามพรรค จะได้รับเสียงจากประชาชนมากที่สุด ทั้งนี้ เพราะที่นั่งมิได้จัดสรรตามสัดส่วน แต่ในระดับเขตเลือกตั้ง ตามระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด (first-past-the-post system) อย่างไรก็ดี พรรคฝ่ายค้านมีที่นั่งในสภาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ขณะที่พรรครัฐบาลเสียที่นั่งเล็กน้อย






 การเลือกตั้งทั่วไปในประเทศมาเลเซีย พ.ศ. 2556



2551 ←
พฤษภาคม 2556[1]


ทั้ง 222 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร
และทั้ง 505 ที่นั่งในสภานิติบัญญัติรัฐใน 12 รัฐของมาเลเซีย (ยกเว้นรัฐซาราวัก)
ฝ่ายข้างมากต้องได้เกิน 112 ที่นั่ง
ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
84.84%

พรรคที่สอง

ผู้นำ
พรรค
ผู้นำตั้งแต่
เมษายน 2552
28 สิงหาคม2551
ที่นั่งผู้นำ
ผลครั้งที่แล้ว
140 ที่นั่ง, 50.27%
82 ที่นั่ง, 46.75%
ที่นั่งที่ได้
133
89
เปลี่ยนแปลง
 7
 7
คะแนนเสียง
5,237,699
5,623,984
ร้อยละ
47.38%
50.87%
Swing
 2.89%
4.12%

นายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้ง
นายกรัฐมนตรีที่ได้รับแต่งตั้ง

   พรรครัฐบาลมาเลเซียของนายกฯ Najib Razakได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งวันอาทิตย์



Malaysia's Prime Minister Najib Razak (C) arrives at his party headquarters after polls closed in Kuala Lumpur May 5, 2013.

พรรคพันธมิตรฝ่ายรัฐบาล National Front
ของนายกฯ มาเลเซีย Najib Razak ยืดเวลาการปกครองประเทศไปอีกอย่างน้อย ปีเป็น 56ปี หลังได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งัวนอาทิตย์หลังได้ที่นั่ง 112 จากทั้งหมด 222 ที่นั่งในรัฐสภามาเลเซีย ส่วนพรรคฝ่ายค้านของอดีตรองนายกฯ Anwar Ibrahim ได้ไป 57 ที่นั่งหลังจากนับคะแนนไปแล้วกว่า ใน รายงานระบุว่ามีชาวมาเลเซียออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งกว่า10 ล้านคนหรือราว 80% ซึ่งเป็นสถิติใหม่ 

การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย

การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย

ผลการนับคะแนนการเลือกตั้งทั่วไปของมาเลเซีย ซึ่งมีขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ (5 พ.ค.) ปรากฎว่า พรรคแนวร่วมรัฐบาลสามารถคว้าชัยชนะไว้ได้อีกครั้ง ทำให้ได้ครองอำนาจต่อไปอีกเป็นปีที่ 56 ติดต่อกัน
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 6 พ.ค. ว่า ผลการนับคะแนนการเลือกตั้งทั่วไปของมาเลเซีย ซึ่งมีขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ (5 พ.ค.) ปรากฏว่า หลังปิดหีบลงคะแนนผ่านไปประมาณ 9 ชั่วโมง และนับบัตรได้กว่า 2 ใน 3 ของทั้งหมด พรรคร่วมรัฐบาลในนาม แนวร่วมแห่งชาติ นำโดยพรรคอัมโนของ นายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัค คว้าชัยชนะได้สำเร็จ เมื่อได้ ส.ส. เข้าสู่รัฐสภาแล้วอย่างน้อย 127 ที่นั่ง ครองเสียงข้างมากจากทั้งหมดในรัฐสภา 222 ที่นั่ง สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้โดยเอกเทศ ขณะที่แนวร่วมฝ่ายค้าน 3 พรรค นำโดยนายอันวาร์ อิบราฮิม ได้ ส.ส. แล้ว 77 ที่นั่ง
นับเป็นชัยชนะการเลือกตั้งทั่วไป 13 ครั้งติดต่อกัน ของพรรคแนวร่วมแห่งชาติ ซึ่งผูกขาดครองอำนาจเป็นรัฐบาลมาตลอด ตั้งแต่มาเลเซียได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อปี พ.ศ. 2500 และ เป็นชัยชนะที่ค่อนข้างผิดความคาดหมายก่อนหน้านี้ ซึ่งบรรดานักวิเคราะห์ชี้ว่า พรรคร่วมรัฐบาลจะเผชิญความท้าทายครั้งใหญ่สุดจากฝ่ายค้าน
เจ้าหน้าที่คณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งชาติมาเลเซีย เผยว่า การเลือกตั้งครั้งนี้มีประชาชนที่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนราว 13 ล้านคน ตัวเลขผู้ที่ออกไปใช้สิทธิสูงถึง 80 %หรือกว่า 10 ล้านคน โดยการลงคะแนนมีขึ้นในหน่วยเลือกตั้งกว่า 8,000 หน่วยทั่วประเทศ ระหว่างเวลา 08.00 น. – 17.00 น.



พรรคร่วมรัฐบาลมาเลเซียคว้าชัยเลือกตั้งทั่วไปเป็นปีที่56 ติดต่อกัน แต่ฝ่ายค้านประกาศไม่ยอมรับความพ่ายแพ้ โดยเชื่อว่ามีการทุจริตเกิดขึ้น    
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 6 พ.ค. ว่า แม้พรรคร่วมรัฐบาลมาเลเซียภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัค จะเป็นฝ่ายชนะในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 5 พ.ค. คงอำนาจต่อเนื่องเป็นปีที่ 56 แต่นายอันวาร์ อิบราฮิม หัวหน้าพรรคร่วมฝ่ายค้าน ประกาศยังไม่ยอมรับความพ่ายแพ้ โดยเชื่อว่ามีการทุจริตเกิดขึ้น ผลการนับคะแนนเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ ระบุว่า พรรคร่วมรัฐบาล “แนวร่วมแห่งชาติ” 13พรรค ที่นำโดยพรรคองค์การสหมาเลย์แห่งชาติ ( อัมโน ) ของนาจิบ สามารถคว้าที่นั่งในรัฐสภาได้ถึง 133 ที่นั่ง จาก222 ที่นั่ง ขณะที่พรรคแนวร่วม “ปากาตัน รัคยัต” หรือพรรคแนวร่วมฝ่ายค้าน 3 พรรค นำโดยพรรคความยุติธรรมปวงชน ( พีเคอาร์ ) ของอันวาร์ ได้ไป 89 ที่นั่ง โดยมีผู้มาใช้สิทธิ์ลงคะแนนมากถึง 10 ล้านคน จากทั้งหมด 13 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 80 ซึ่งสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์
ทว่านาจิบถือเป็นนายกรัฐมนตรีมาเลเซียคนแรกในประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ประเทศได้รับเอกราชจากอังกฤษ เมื่อปี 2500 ที่ได้รับคะแนนนิยมประชาชนน้อยกว่าผู้สมัครจากพรรคแนวร่วมฝ่ายค้าน คือ 5.22 ต่อ 5.48ล้านคะแนน อย่างไรก็ตาม ผู้นำมาเลเซียวัย 59 ปี ประกาศชัยชนะและขอให้ทุกฝ่ายยอมรับผลการเลือกตั้งที่ออกมา ที่เป็นการตัดสินใจโดยบริสุทธิ์ของประชาชน เพื่อความปรองดองและสมานฉันท์ในอนาคต
ขณะที่อันวาร์ วัย 65 ปี ปฏิเสธยอมรับความพ่ายแพ้ พร้อมกับประณามการเลือกตั้งครั้งนี้ ว่าเต็มไปด้วยการทุจริต ดังนั้น ผลคะแนนที่ออกมาจึงไม่มีความโปร่งใส่พอ แม้ปากาตัน รัคยัต จะได้ที่นั่งเพิ่มขึ้นจากการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ 5 ปีก่อนถึง 14 ที่นั่งก็ตาม แต่ก็ต้องสูญเสียที่นั่ง 1ใน 4 รัฐที่เคยแย่งชิงมาจากฝ่ายรัฐบาล กลับคืนไปให้นาจิบในการเลือกตั้งครั้งนี้ ทั้งนี้ มาเลเซียแบ่งการปกครองออกเป็น 13 รัฐ




ด้าน นายเจมส์ ชิน ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ในสิงคโปร์ แสดงทรรศนะเกี่ยวกับการเลือกตั้งของมาเลเซียครั้งนี้ว่า เป็นการต่อสู้กันอย่างสูสีที่สุด เนื่องจากนอกเหนือจากแรงกดดันภายนอกแล้ว ทั้งนาจิบและอันวาร์ต่างต้องเผชิญแรงเสียดทานภายในพรรคไม่แพ้กัน โดยนาจิบต้องการแย่งชิงที่นั่งที่เสียไปเมื่อปี 2551 กลับคืนมาให้ได้มากที่สุด เพื่อเรียกคืนความเชื่อมั่นจากสมาชิกพรรค ซึ่งแม้จะทำไม่ได้ แต่อย่างน้อยพรรครัฐบาลก็ยังคงครองเสียงข้างมาก
อัน วาร์จึงดูเหมือนเป็นฝ่ายตกที่นั่งลำบากมากกว่า และอาจถึงขั้นต้องอำลาเส้นทางการเมือง หลังประกาศชัดก่อนหน้านี้ว่า จะลาออกจากการเป็นหัวหน้าของปากาตัน รัคยัต หากเป็นฝ่ายพ่ายแพ้การเลือกตั้ง
มาเลเซีย เปิดหย่อนบัตรเลือกตั้งทั่วไปแล้วเมื่อเช้าวันอาทิตย์นี้ ซึ่งเป็นการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ที่อาจส่งผลถึงการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล เมื่อฝ่ายค้านชูนโยบายปฏิรูป
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 5 พ.ค.ว่า นายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัค แห่งมาเลเซีย ได้ออกมาใช้สิทธิ์ลงคะแนนเสียง การเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ ซึ่งอาจส่งผลถึงการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล เพราะการหาเสียงอย่างดุเดือดในประเทศที่ประกอบด้วยหลายเชื้อชาติและข้อกล่าว หาฉ้อโกง รวมถึงความรุนแรง
หน่วยเลือกตั้งต่างๆทั่วประเทศ ได้เปิดให้ลงคะแนนตั้งแต่เวลา 08.00น.เช้าวันอาทิตย์ตามเวลาท้องถิ่น ตรงกับ 07.00 น.วันเดียวกันตามเวลาในประเทศไทย และ ปิดหีบเลือกตั้งในเวลา 17.00 น. วันเดียวกัน ตรงกับ16.00 น.ตามเวลาในประเทศไทย จากนั้นก็จะเริ่มนับผลคะแนนเลือกตั้ง ซึ่งใช้เวลาไม่นานก็คงจะทราบผลการเลือกตั้ง
ประชาชนชาวมาเลเซียรอคอยผลการเลือกตั้งครั้งนี้ นับตั้งแต่การเลือกตั้งเมื่อปี 2551 เป็น ต้นมา เพราะพรรคฝ่ายค้านสามารถผนึกกำลังต่อสู้กับพรรคพันธมิตรฝ่ายรัฐบาล ซึ่งกุมอำนาจรัฐมาโดยตลอด นับตั้งแต่มาเลเซียได้รับเอกราชเมื่อปี 2500 เป็นต้นมา
 พรรค พันธมิตรฝ่ายรัฐบาล นำโดยพรรคองค์การสหมาเลย์แห่งชาติ หรือ อัมโน ซึ่งมีนายนาจิบ ราซัค นายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำ จะต้องสู้กับพันธมิตรฝ่ายค้าน สัญญาประชาชน นำโดยนายอันวาร์ อิบราฮิม อดีตรองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเคยอยู่กับพรรคอัมโนมาก่อน ก่อนที่จะโดนมรสุมการเมืองกระหน่ำ จนต้องมาอยู่ฝ่ายค้าน แต่นักวิเคราะห์ตั้งข้อสังเกตว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ ผลออกมาสูสีกันมาก จนไม่สามารถคาดเดาได้ว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ชน